สารบัญ
Simulation คืออะไร?
Simulation คือการใช้ Model หรือแบบจำลองที่ใช้ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ มาช่วยคำนวณผลลัพธ์ของสิ่งที่เราสนใจ โดยที่หากเราสามารถสร้างแบบจำลองที่แม่นยำใกล้เคียงกับความเป็นจริง เราก็จะสามารถใช้แบบจำลองช่วยทำนายผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
จริงๆ แล้วเราก็ใช้ Excel คำนวณเรื่องต่างๆ ตามปกติอยู่แล้ว เช่น คำนวณผลกำไรของธุรกิจ คำนวณพื้นที่ คำนวณปริมาตร แต่เรามักจะใช้ Input ของสูตรเป็นค่าที่มีความแน่นอนไปเลย เช่น
ผลกำไรของธุรกิจ = รายได้รวมรวม - ค่าใช้จ่ายรวม
หากคำนวณผลกำไรของธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เอารายได้จริง ลบ ค่าใช้จ่ายจริง ไปเลย แบบนั้นก็ไม่ต้องมาทำ Simulation อะไรทั้งสิ้น
ผลกำไรของธุรกิจ (แน่นอน) =
รายได้รวมรวม (แน่นอน) - ค่าใช้จ่ายรวม (แน่นอน)
//แบบนี้คำนวณตรงๆ ไปเลยไม่ต้องใช้ Simulation
แต่ถ้าเราจะคำนวณผลกำไร ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน แบบนี้เราสามารถใช้การทำ Simulation เพื่อจำลองว่า ยอดขายหรือต้นทุนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้หลายค่านั้นจะออกมาเป็นเช่นไร
ผลกำไรของธุรกิจ (ไม่แน่นอน) =
รายได้รวมรวม - ค่าใช้จ่ายรวม
(อย่างน้อยตัวใดตัวหนึ่งไม่แน่นอน)
//แบบนี้ใช้ Simulation เพื่อจำลองความไม่แน่นอน
เรื่องการแจกแจงความน่าจะเป็นเป็นความรู้ทางสถิติแบบนึง ใครไม่คุ้นสามารถเริ่มอ่านเรื่องสถิติได้ที่นี่
ทำไมต้องทำ Simulation?
เราใช้ Simulation เพื่อจำลองผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอนนั้นๆ ออกมาให้เราได้เข้าใจ และเห็นภาพชัดขึ้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง ซึ่งดีกว่าการใช้ค่ากลางอย่างเช่นค่าเฉลี่ยมาคำนวณเพียงอย่างเดียว โดยที่เราไม่ต้องทำการทดสอบจริงๆ ซึ่งจะม่ีค่าใช้จ่ายสูง
พอทำ Simulation แล้ว เราจะเห็นว่าขอบเขตของค่าผลลัพธ์เป็นเช่นไร? ค่าที่คาดหวังโดยเฉลี่ยเป็นเท่าไหร่? เป็นต้น ทั้งหมดเพื่อช่วยให้เราสามารถเลือกทางเลือกหรือตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและสร้างผลกำไรทางธุรกิจได้ในที่สุด
Excel ใช้ทำ Simulation ยังไง?
การที่จะสร้างความไม่แน่นอนขึ้นมาได้นั้น เราจะใช้การสุ่มค่ามาช่วย ซึ่งใน Excel มีฟังก์ชันที่ใช้สุ่มตัวเลขอยู่หลายฟังก์ชัน เช่น
- RAND() ซึ่งเป็นการสุ่มเลขตั้งแต่ 0-1 โดยเป็นทศนิยมได้
- RANDBETWEEN(bottom,top) โดยเป็นการสุ่มเลขจำนวนเต็มตั้งแต่ botton ถึง top
- RANDARRAY(rows,columns,min,max,integer)
ตัวหลักๆ ที่เราจะใช้คือ RAND() เพราะได้ค่าทศนิยมละเอียด และใช้ได้ใน Excel ทุก version โดยที่เมื่อ RAND แล้วจะได้เลขโดยสุ่มเลขตั้งแต่ 0-1 ออกมาค่านึง
![การทำ Simulation ด้วย Excel 2](https://www.thepexcel.com/wp-content/uploads/2023/01/simulation-00.png)
แล้วพอมีการคำนวณใหม่ (เช่น กด F9) ก็จะได้ค่าใหม่ออกมาเป็นอีกค่าหนึ่ง ซึ่งนี่ก็คือ Concept ของการสุ่มใน Excel นั่นเอง
![การทำ Simulation ด้วย Excel 3](https://www.thepexcel.com/wp-content/uploads/2023/01/simulation-00-2.png)
หากเราเอาค่าที่สุ่มได้ตั้งแต่ 0-1 นั้น ออกมาใช้กับ Distribution รูปแบบต่างๆ ได้ เช่น Uniform Distribution, Normal Distribution, T-Distribution, Binomial Distribution, Poisson Distribution และอีกมากมาย
ตัวอย่างการสุ่มแบบง่าย
ถ้าเป็นการสุ่มแบบ Yes, No ที่มีโอกาสเกิด xx% เช่น โอกาสที่ทำงานสำเร็จ คือ 70% แบบนี้เราก็แค่ใช้ RAND เทียบกับค่า 0.7 ได้ เช่น
=IF(RAND()<=0.7,"สำเร็จ","ล้มเหลว")
ตัวอย่างการสุ่มแบบ Distribution ซับซ้อน
แต่ถ้าโอกาสที่จะเกิดขึ้นมันมีความน่าจะเป็นแบบ Distribution ที่ซับซ้อนขึ้นล่ะ??
วิธีที่ง่ายที่สุดอันนึงคือการใช้ Inverse ของความน่าจะเป็น Distribution เหล่านั้นในการหาค่าที่สนใจ
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น กรณี Normal Distribution เราจะใช้ NORM.DIST กับ NORM.INV จะเป็นการคำนวณกลับกัน
![การทำ Simulation ด้วย Excel 4](https://www.thepexcel.com/wp-content/uploads/2023/01/simulation-01-1024x450.png)
Key สำคัญคือเราจะ Random ความน่าจะเป็นในการเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ออกมา แล้วใช้ Inverse เพื่อหาค่าที่สนใจ ยกตัวอย่างเช่น
สมมติว่า Demand ของสินค้าที่เราจะขาย มีการแจกแจกแบบ Normal Distribution ที่มีค่าเฉลี่ยคือ 200 ชิ้นต่อเดือน และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 50 ชิ้นต่อเดือน ถ้าลองคำนวณยอดขายตลอด 1 ปีอาจจะได้คำตอบแบบนี้ (แน่นอนว่าถ้ากด F9 เลขก็จะเปลี่ยนอีก)
![การทำ Simulation ด้วย Excel 5](https://www.thepexcel.com/wp-content/uploads/2023/01/simulation-03-1-1024x459.png)
มันจะช่วยให้เราเห็นภาพได้ว่า โดยเฉลี่ยแล้วยอดอาจจะอยู่ประมาณ 200 จริงๆ แต่บางเดือนก็อาจจะน้อย บางเดือนก็เยอะ เป็นต้น
นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ Data Table มาช่วย Run Simulation หลายๆ รอบได้ตามต้องการ (Simulate เป็นพันครั้งเลยก็ได้ ยิ่งเยอะยิ่งเห็นความเป็นไปได้ชัดเจนมากขึ้น)
ถ้าอยากลองสร้างตารางแจกแจงความถี่ของยอดขายที่ได้ ก็สามารถใช้กราฟแบบ Histogram หรือว่าจะใช้ Analysis Toolpak โดยใช้การวิเคราะห์แบบ Histogram อีกทีก็ได้ครับ
![การทำ Simulation ด้วย Excel 6](https://www.thepexcel.com/wp-content/uploads/2023/01/simulation-07-1024x457.png)
นี่แค่เริ่มต้นเท่านั้น
ซึ่งอันนี้เป็นตัวอย่างง่ายๆ ในการใช้ความรู้ทางสถิติ มาผสมกับเครื่องมือใน Excel เพื่อสร้าง Simulation ยอดขายขึ้นมาเท่านั้น
ในชีวิตจริง มันอาจจะมี Simulation หลายๆ เรื่อง ผูกโยงกันจนกลายเป็น Simulation Model ที่ซับซ้อนขึ้น และตรงกับความเป็นจริงมากขึ้นในที่สุด
ซึ่งเร็วๆ นี้ผมจะมีการทำคอร์สออนไลน์ใหม่เรื่อง Excel Solver & Simulation ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่อยากจะใช้ Excel ในงานวางแผนต่างๆ สามารถใช้ Excel ช่วยวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ใครที่สนใจเนื้อหาเรื่องพวกนี้ บอกเลยว่า พลาดไม่ได้เลยครับ!!
Leave a Reply