if choose vlookup

IF vs CHOOSE vs VLOOKUP เปรียบเทียบฟังก์ชั่นทำหน้าที่ตัดสินใจ

“ชีวิตคนเราเต็มไปด้วยการตัดสินใจ…” จริงๆ แล้วคนเราตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา (บางทีก็ตัดสินใจที่จะอยู่เฉยๆ 555) บางทีเราก็ต้องเลือกระหว่าง Choice 2 อย่าง แต่บางทีก็มี Choice มากมายนับไม่ถ้วน…

การทำงานกับ Excel ก็เช่นกัน หลายๆ ครั้งเราก็ต้องตัดสินใจ “ว่าถ้าข้อมูลเป็นแบบนี้ๆ แล้วจะให้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น??”

ซึ่งจริงๆ แล้วการตัดสินใจใน Excel นั้นมีฟังก์ชั่นที่มาช่วยในเรื่องนี้หลายตัวด้วยกัน แต่ในบทความนี้ผมจะขอยกตัวอย่างฟังก์ชั่นที่น่าสนใจมากๆ 3 อัน นั่นคือ IF, CHOOSE, และ VLOOKUP นั่นเอง ซึ่งผมบอกเลยว่า นี่คือ “หัวใจสำคัญ” ที่จะทำให้คุณใช้ Excel ได้เก่งกาจขึ้นอีกมากครับ!!

ก่อนอื่น ขอเริ่มจากฟังก์ชั่นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการคิดแบบตัดสินใจ นั่นคือ IF ครับ

IF

IF แปลได้ตรงๆ ว่า “ถ้า” ซึ่งความหมายและหน้าที่ของฟังก์ชั่นก็ตรงตามคำศัพท์ครับ นั่นคือ “ถ้า เงื่อนไขเป็นจริง แล้วจะใช้สูตร xxx แต่ถ้าไม่จริงจะใช้สูตร yyy”

พูดง่ายๆ ว่า มีทางแยกในการตัดสินใจ แค่ 2 ทาง คือ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ก็ไปทางหนึ่ง ถ้าเป็นเท็จก็ไปอีกทางหนึ่ง เหมือนว่าเราเดินมาเจอทางแยกที่มีป้ายบอกทางชี้ไปซ้ายกับขวา… และการที่เราจะไปต่อทางไหน ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนดไว้

ซึ่งเงื่อนไขที่ว่าก็คือสิ่งที่เขียนอยู่ในส่วนของ logical_test ในฟังก์ชั่น IF นั่นเอง ซึ่งจะต้องให้ผลลัพธ์ออกมาได้แค่ 2 อย่าง คือ TRUE กับ FALSE เท่านั้น!

if
โครงสร้างฟังก์ชั่น

=IF(logical_test,value_if_true,value_if_false
=IF(เงื่อนไขที่ต้องเช็คว่าจริงหรือเท็จ,ถ้าจริงใช้สูตรนี้,ถ้าเท็จใช้สูตรนี้)

เช่น ถ้า A1 คือ จำนวนงานที่มีตำหนิ ถ้างานมีตำหนิมากกว่า 10 ชิ้น โดนค่าปรับชิ้นละ 5000 บาท แต่ถ้าไม่เกิน 10 ชิ้นจะโดนปรับชิ้นละ 1000 บาท

ถ้าเราต้องการคำนวณค่าปรับใน A2 จะเขียนสูตรได้ว่า =IF(A1>10,5000*A1,1000*A1)
ซึ่งแปลได้ว่า ถ้า A1 > 10 ชิ้น (เงื่อนไข) ค่าปรับคือ 5000*A1 (กรณีจริง) แต่ถ้าไม่เกิน ค่าปรับคือ 1000*A1 (กรณีเท็จ) นั่นเอง

หมายเหตุ : เงื่อนไขอาจมีได้หลายเงื่อนไข ซึ่งเอามาผสมรวมกันได้ด้วยฟังก์ชั่นทางตรรกะ เช่น AND, OR, NOT จนสุดท้ายเหลือออกมาแค่ TRUE/FALSE

หมายเหตุ 2 : เนื่องจาก IF แยกได้แค่ 2 กิ่ง ถ้าอยากให้ผลลัพธ์มีได้มากกว่า 2 กิ่งให้ใช้ IF ซ้อนกันหลายๆ ชั้น

CHOOSE

หาก IF เปรียบเสมือนป้ายทางแยก 2 ทางแล้ว CHOOSE ก็เปรียบเสมือนลิฟท์ ที่มีปุ่มให้เลือกกดว่าจะไปชั้นไหน แล้วแต่ละชั้นจะใช้สูตรอะไร?

choose

ที่ผมเปรียบเทียบ CHOOSE เป็นเหมือนลิฟต์ เพราะว่า CHOOSE นั้นเรา จะต้องระบุตัวเลข ให้มันก่อน ว่า จะให้มันทำงานด้วยสูตรลำดับที่เท่าไหร่? (มีได้สูงสุด 254 สูตร!!)

โครงสร้างฟังก์ชั่น

=CHOOSE(index_num,value1,value2,value3,…,value254)
=CHOOSE(เลขลำดับสูตรที่จะให้ใช้,สูตรที่1,สูตรที่2,สูตรที่3,…,สูตรที่254)

เช่น =CHOOSE(3,A1+2,A1*2,A1/2,A1^2) จะได้ผลลัพธ์ว่า A1/2
เพราะว่าเราเลือกสูตร ลำดับที่3 จากสูตรทั้งหมดที่มีให้เลือกดังนี

  1. A1+2
  2. A1*2
  3. A1/2
  4. A1^2

หมายเหตุ : ในชีวิตจริง การที่จะกำหนดลำดับสูตรที่จะใช้ให้เป็นตัวเลขได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งถ้าให้ผมแนะนำ ก็ต้องใช้ฟังก์ชั่นถัดไปนั่นคือ VLOOKUP มาช่วยตรงส่วน index_num นี้นั่นเอง

VLOOKUP

ตัวสุดท้ายที่จะพูดถึงคือฟังก์ชั่นสุดเจ๋งอย่าง VLOOKUP ซึ่งจริงๆ แล้วมีการทำงานถึง 2 โหมดด้วยกัน นั่นคือ VLOOKUP แบบ Approximate Match และ แบบ Exact Match

ซึ่งตัวที่ผมจะขอพูดถึงในที่นี้คือ VLOOKUP แบบ Exact Match ซึ่งเป็นแบบที่เราใช้งานกันบ่อยในชีวิตประจำวันแล้วกันครับ

ถ้าจะให้เปรียบเทียบ VLOOKUP แบบ Exact Match ผมคิดว่าเราสามารถเปรียบเทียบกับเวลาที่เรากำลังมองไปที่เมนูของร้านกาแฟได้เลยครับ (ตัวอย่างร้านกาแฟนี้ ผมได้แนวคิดมาจากเว็บ http://www.excelcampus.com/functions/excel-vlookup-explained/ ครับ อธิบายได้เห็นภาพมาก)

vlookup3

สิ่งที่เราทำคือ เราคิดว่าจะกินกาแฟชนิดไหน จากนั้นก็มองไล่หาชนิดกาแฟที่ต้องการ พอเจอแล้ว ก็ค่อยกวาดสายตาไปทางขวา เพื่อดูอีกทีว่า option แต่ละแบบ ราคาเป็นเท่าไหร่ ซึ่งเรียงกันอยู่ในรูปแบบหลายๆ คอลัมน์ (แถวเดียวกัน คือ กาแฟชนิดเดียวกัน)

โครงสร้างฟังก์ชั่น

=VLOOKUP(lookup_value,table_array,col_index_num,range_lookup)
=VLOOKUP(ข้อมูลที่สนใจ,ตารางอ้างอิง,ลำดับคอลัมน์ของผลลัพธ์ที่ต้องการ, อันสุดท้าย ใส่ 0 เพื่อบอกว่าใช้โหมด Exact Match)

ถ้าเป็นตัวอย่างกาแฟ สมมติว่าผมต้องการกิน Cappuccino (lookup_value) ผมก็จะมองไปที่เมนู (table_array) แล้วกวาดสายตาจากบนลงล่างจนเจอกับ Cappuccino…

จากนั้นก็จะกวาดสายไปมองไปทางขวา สมมติผมต้องการแบบเย็น ผมก็ต้องมองไปที่คอลัมน์ลำดับที่ 3 (col_index_num) แล้วสุดท้ายก็จะได้ราคา นั่นคือ 65 บาท กลับมานั่นเอง

ซึ่งจะเขียนเป็นสูตรเต็มๆ ได้ว่า

=VLOOKUP(“Cappuccino”,เมนูกาแฟ,3,0) ซึ่งจะได้ผลลัพธ์คือ 65 กลับมาครับ

หมายเหตุ : ผลลัพธ์ของ VLOOKUP สามารถเป็นค่าผลลัพธ์ได้อย่างเดียว ไม่สามารถใส่เป็นสูตรคำนวณเช่นเดียวกับ IF หรือ CHOOSE ได้

สรุปเปรียบเทียบฟังก์ชั่นแต่ละตัว

if-vlookup-compare - Excel2

สรูปแล้วฟังก์ชั่นแต่ละตัวก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ซึ่งถ้าให้ผมแนะนำว่าควรใช้ตัวไหน ก็ให้ดูว่า ทางแยกตัดสินใจมีมากหรือน้อย ถ้ามีน้อยๆ แค่ 2 ทาง การใช้ IF ก็ค่อนข้างสะดวก

แต่ถ้ามีหลายทาง ก็ให้ดูว่าผลลัพธ์เป็นค่าธรรมดาหรือเป็นสูตรคำนวณ ถ้าเป็นสูตรคำนวณก็ต้องคิดเอาว่าจะถนัดใช้ IF ซ้อน IF หรือจะใช้ CHOOSE ดีกว่า

แต่ถ้ามีหลายทางแล้วผลลัพธ์เป็นค่าธรรมดาๆ ไม่ใช่สูตร ก็ใช้ VLOOKUP ได้เลยครับ!!

สำหรับคนที่อยากศึกษาต่อเพิ่มเติม ก็สามารถค้นหาคำว่า IF, CHOOSE, VLOOKUP ในเว็บผมได้เลยครับ มีให้อ่านอีกเยอะครับ ^^


ใครสนใจอยากใช้ Excel ได้ดีขึ้น อัตโนมัติขึ้น แนะนำ ลองดู Workshop นี้ได้เลย ตอนนี้กำลังจะอบรมแล้ว

แนะนำ Power Query WORKSHOP 2025 🚀

โดย เทพเอ็กเซล พร้อมยกระดับทักษะการใช้ Excel ให้คุณทำงานได้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น!

✅ รวบรวม+ดัดแปลง Data เพื่อเตรียมข้อมูลก่อน Pivot ให้พร้อมแบบอัตโนมัติ ด้วย Power Query
สอนตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงแก้ไข M Code ด้วยตัวเองได้ 🔥

เลือกรูปแบบการเรียนที่สะดวกสำหรับคุณ:

1️⃣ ONSITE (2 วันเต็ม) – ได้เจอวิทยากรตัวจริง!

  • 📍 17-18 พ.ค. 68 | ⏰ 9:00 – 17:00 น. | 🏨 Sindhorn Midtown Hotel
  • 💰 ราคาพิเศษ 7,000 – 7,500 บาท/ท่าน (รวม VAT) (ปกติ 8,500 บาท)
  • ⭐ Early Bird ชำระก่อน 30 เม.ย. + ลูกค้าเก่า Workshop มีส่วนลดพิเศษ

2️⃣ LIVE ONLINE (6 วัน วันละ 2 ชม.) – เรียนจากที่ไหนก็ได้!

  • 📅 13-15 & 20-22 พ.ค. 68 | ⏰ 20:00 – 22:00 น. | 💻 ผ่าน Zoom
  • 💰 ราคาพิเศษ 4,000 – 4,500 บาท/ท่าน (รวม VAT) (ปกติ 5,500 บาท)
  • ⭐ Early Bird ชำระก่อน 30 เม.ย. + ลูกค้าเก่า Workshop มีส่วนลดพิเศษ

👉 สมัครเลย! ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ https://www.thepexcel.com/thepexcel-public-workshop-2025/

สอบถามเพิ่มเติม: LINE: @ThepExcelWorkshop ได้เลย


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Public Training Workshop 2025
อบรม In-House Training

Feedback การใช้งาน AI Chatbot