หลังจากที่เราได้เรียนรู้การใช้งาน VLOOKUP ในบทความก่อนหน้านี้ไปแล้ว จะพบว่า เราจะต้องนั่งมองเอาเองว่าจะต้องใส่เลขอะไรใน col_index_num
= VLOOKUP(lookup_value, table_array, col_index_num,[range_lookup])
ซึ่งมันมีข้อเสียที่สำคัญ นอกเหนือจากการที่จะต้องมานั่งนับจำนวนคอลัมน์เอง ก็คือ หากมีใครไปแทรกคอลัมน์ในบริเวณ table_array ของเราล่ะก็ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะผิดทันที!!
ดังนั้นจะดีกว่าหรือไม่? หากเราจะปล่อยให้ Excel เป็นคนนับจำนวนคอลัมน์เอง ซึ่งฟังก์ชัน MATCH จะมาช่วยเราเรื่องนี้นั่นเองครับ
การใช้ MATCH เพื่อหาลำดับตำแหน่งของค่าที่เราต้องการ
หากเราเข้าใจการทำงานของฟังก์ชั่น VLOOKUP มาก่อนแล้ว จะพบว่าฟังก์ชั่น MATCH นั้นทำงานคล้ายคลึงกันมากครับ เพราะเจ้า MATCH นี้เอาไว้หาคำที่ต้องการเหมือนกัน แต่เจ้า MATCH นี้จะส่งลำดับของผลลัพธ์คำค้นหามาให้ ว่าอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ในแถวหรือคอลัมน์ที่กำหนด = ได้ค่ากลับมาเป็นตัวเลข
ซึ่งกำหนดทิศทางการ MATCH ได้ 2 ทิศ คือ แนวตั้งและแนวนอน (ได้แค่แนวตั้งแบบคอลัมน์เดียว ไม่ก็แถวนอนแถวเดียว)
วิธีการใช้งาน
=MATCH(lookup_value, lookup_array, [match_type])
=MATCH(หาคำนี้,ว่าอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ในแถวหรือคอลัมน์นี้,เลือกประเภทการ Match)
สังเกตว่า Lookup_Array จะมีได้แค่มิติเดียว คือเป็นแถวเดียว หรือ คอลัมน์เดียวเท่านั้น ไม่สามารถใส่เป็นตาราง 2 มิติได้
ประเภทการ MATCH (Match Type)
แบ่งเป็น 3 ประเภท (มีประเภทมากกว่า VLOOKUP อีกนะ) ซึ่งปกติเราก็มักจะใช้แบบ 0 ครับ
Match Type | การทำงาน | หากเจอค่าที่ค้นหาหลายตัว |
0 | หาค่าที่เท่ากับตัวที่กำหนดเป๊ะๆ ว่าอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ คล้าย VLOOKUP แบบ Exact Match | ในคอลัมน์หรือแถวเดียวกัน มันจะยึดที่เจออันแรกสุด |
1 (หรือ ไม่ใส่ค่า) |
Lookup_Array ต้องเรียงน้อยไปมาก มันจะหาค่าที่มากกว่า Lookup_ Value แล้วเด้งกลับ 1 ช่อง (แบบเดียวกับ VLOOKUP แบบ Approximate Match) |
มันจะยึดที่เจออันหลังสุดครับ Tips : มันจะวิ่งไล่จากบนลงล่าง / ซ้ายไปขวา จนเจอตัวที่มากกว่าค่าที่กำหนดแล้วจะเด้งกลับ 1 ช่อง |
-1 | Lookup_Array ต้องเรียงมากไปน้อย มันจะหาค่าที่น้อยกว่า Lookup_ Value แล้วเด้งกลับ 1 ช่อง |
มันจะยึดที่เจออันหลังสุดครับ Tips : มันจะวิ่งไล่จากบนลงล่าง / ซ้ายไปขวา จนเจอตัวที่มากกว่าค่าที่กำหนดแล้วจะเด้งกลับ 1 ช่อง |
แนวทางการใช้งาน
มักใช้ร่วมกับฟังก์ชั่นอื่นเช่น ใช้กับ VLOOKUP ในส่วน Col_Index_Num ตามที่ได้อธิบายไปข้างต้น
นอกจากนี้ยังช่วย เวลามีการแทรกคอลัมน์แล้วสูตร Col_Index_Num ใน VLOOKUP จะสามารถเลื่อนตามโดยอัตโนมัติ ทำให้ผลลัพธ์ไม่เพี้ยน
Leave a Reply